ปัญญา นิรันดร์กุล
ปัญญา นิรันดร์กุล | |
งานคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ |
|
ชื่อเกิด | ปัญญา นิรันดร์กุล |
ชื่อเล่น | เปียง |
เกิด | 24 มีนาคม พ.ศ. 2497 ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | เสี่ยตา |
อาชีพ | นักแสดง, พิธีกร, สถาปนิก |
ประวัติ
ปัญญา นิรันดร์กุล มีชื่อเล่นว่า “ตา” (ชื่อเล่นเดิมคือ “เปียง”) เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2497 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน มารดาชื่อ นางอำพัน นิรันดร์กุล แม่ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2546[1] ปัญญาได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2520ปัญญาสมรสกับ นางวาสนา นิรันดร์กุล[2] มีบุตร-ธิดารวม 4 คน คือ น้ำตาล-ปานวาด (เกิด: พ.ศ. 2527) , น้ำหอม-ปานตา (เกิด พ.ศ. 2530) , น้ำทอง-ปานฝัน (เกิด: พ.ศ. 2531) และ น้ำมนต์-ปรวัธน์ (เกิด: พ.ศ. 2537) [1][2]
ปัจจุบัน ปัญญามีบ้านพักอยู่ภายในหมู่บ้านเมืองเอก ย่านรังสิต ใกล้กับ เวิร์คพอยท์สตูดิโอ ที่ทำการใหม่ของ บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์
เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรก ด้วยการแสดงภาพยนตร์ไทย เรื่องแรกคือ สืบยัดไส้ ในปี พ.ศ. 2521 ในบทบาทนักแสดงประกอบ และต่อมาในปีเดียวกัน ปัญญาจึงได้แสดงละครในบทพระเอกเป็นเรื่องแรกคือ ศรีธนญชัย ทางไทยทีวีสีช่อง 3 จากการชักชวนของภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ และยังได้รับโอกาสแสดงบทพระเอกในภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง โดยมีชื่อเสียงคู่กับอรพรรณ พานทอง และเพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทรรายการโทรทัศน์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ปัญญาร่วมเป็นสมาชิกยุคบุคเบิกของรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางไทยทีวีสีช่อง 9 โดยใช้ชื่อว่า ซูโม่ตา มีบทบาทซึ่งสร้างชื่อเสียงเป็นที่จดจำของผู้ชมคือ การแสดงเป็นพิธีกรรายการ ภาษาไทยคำละวัน ล้อเลียนรายการ ภาษาไทยวันละคำ ของอาจารย์กาญจนา นาคสกุล และต่อมาในปีเดียวกัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2532) ปัญญาเข้าร่วมเป็นพิธีกรรายการ พลิกล็อก (ในชื่อ คู่หูพลิกล็อก , พลิกล็อกเพชร และ พลิกล็อกเหนือเมฆ) , ยุทธการขยับเหงือก , มหัศจรรย์วันเสาร์ ของเจเอสแอลทาง ททบ.5 เป็นต้นในปี พ.ศ. 2532 ปัญญาลาออกจากทุกรายการของเจเอสแอล แล้วร่วมกับ จิก-ประภาส ชลศรานนท์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานมากมายทางด้านเพลง หนังสือ และโทรทัศน์ ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (อังกฤษ: WorkPoint Entertainment Co., Ltd.) เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ โดยรายการแรกของบริษัทคือ เวทีทอง ทางช่อง 7 สี ต่อมา ผลงานรายการ และละครของเวิร์คพอยท์ฯ ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังแก่บริษัทฯ อย่างมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 เวิร์คพอยท์ฯ ก็เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เอกลักษณ์ประจำตัว
เอกลักษณ์และลักษณะท่าทางประจำตัวของปัญญา คือ ในสมัยที่ยังทำรายการพลิกล็อกของบริษัท เจเอสแอลนั้นจะทำมือ Thumb up และ Thumb down และพูดว่า "มากกว่าหรือน้อยกว่าครับ" บวกกับความเป็นกันเองกับผู้เข้าแข่งขันจึงทำให้ปัญญาได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมาคือเอกลักษณ์ในรายการแฟนพันธุ์แท้คือยื่นมือที่กางนิ้วหัวแม่โป้งและ นิ้วชี้ออกไปข้างหน้า พร้อมทำปากไปด้วย ก่อนจะพูดประโยค “ถูกต้องนะคร้าบ” ด้วยเสียงดังและลากเสียงยาวนาน ส่วนมากจะใช้กับรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่ปัญญาเป็นพิธีกร ในการเฉลยคำถาม โดยรายการแรกที่ปัญญาใช้ประโยคนี้ คือรายการ แฟนพันธุ์แท้ ซึ่งถือว่าโด่งดังมาก จนกลายเป็นประโยคฮิตติดปาก จนผู้คนมักเลียนแบบไปใช้เล่นกับคนรอบข้าง ซึ่งในระยะแรก ประโยคนี้จะใช้เฉพาะในรายการแฟนพันธุ์แท้เท่านั้น แต่ต่อมา ปัญญาได้นำไปใช้ในรายการเกมโชว์ควิซโชว์อื่นๆ ที่ตนเป็นพิธีกรด้วย เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งในการจัดรายการระยะหลังก็คือ การตะโกนพูดด้วยเสียงดัง เพื่อกระตุ้นความรู้สึกตื่นเต้นให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในรายการ เช่น รายการ ยกสยาม เป็นต้นผลงาน
รายการโทรทัศน์
รายการที่เป็นพิธีกรอยู่ในปัจจุบัน
- ราชรถมาเกย โมเดิร์นไนน์ทีวี (1 มีนาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน) ทุกวันจันทร์ - วันอังคาร
- ชิงร้อยชิงล้าน ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 เวิร์คพอยท์ ทีวี (17 มกราคม พ.ศ. 2533 - 2 เมษายน พ.ศ. 2551) / (14 เมษายน พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน) ทุกวันอาทิตย์
- บ้านเจ้าปัญญา ช่อง 5 (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) ทุกวันอาทิตย์
- นักประดิษฐ์พันล้าน เวิร์คพอยท์ ทีวี (19 มีนาคม พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน) ทุกวันจันทร์
รายการที่เคยเป็นพิธีกรและยุติการออกอากาศไปแล้ว
- ล้มเค้า
- เพชฌฆาตความเครียด (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2529)
- พลิกล็อก (พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2532)
- คอนเสิร์ต-คอนเทสต์ (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530)
- มหัศจรรย์วันเสาร์ (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532)
- ยุทธการขยับเหงือก (พ.ศ. 2532)
- เวทีทอง (พ.ศ. 2532)
- เกมแก้จน (4 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546)
- อยากออกทีวี (พ.ศ. 2542)
- เกมทศกัณฐ์ (1 เมษายน พ.ศ. 2546 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
- เกมทศกัณฐ์เด็ก (3 เมษายน พ.ศ. 2547 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551)
- กล่องดำ/กล่องดำ รักแท้ (1 มกราคม พ.ศ. 2548 - 23 มีนาคม พ.ศ. 2551 / 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
- อัจฉริยะข้ามคืน (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2550)
- หลานปู่ กู้อีจู้ (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553)
- ยกสยาม (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554)
- เอสเอ็มอี ตีแตก (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 27 มกราคม พ.ศ. 2555)
รายการที่เคยเป็นพิธีกร แต่ยังออกอากาศอยู่
- หนูน้อย กู้อีจู้ (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
- แฟนพันธุ์แท้ (1 กันยายน พ.ศ. 2543 - 20 เมษายน พ.ศ. 2550)
ละครโทรทัศน์
|
|
ภาพยนตร์ไทย
|
|
โฆษณา
- โตโยต้า ไฮลักซ์วีโก้
- เครื่องดื่มตราช้าง ชุด หันหน้าเข้าหากัน (ร่วมกับ วิทวัส สุนทรวิเนตร)
- แป้ง ตรางู เซ็นลุกซ์
- แชมพู ตรางู เซ็นลุกซ์
- ธนาคาร ออมสิน
- เครื่องใช้ไฟฟ้า ซิงเกอร์
- ธนาเพลส ชุด 3 หนุ่ม น้องหนู (แสดงร่วมกับ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, กฤตย์ อัทธเสรี)
- สีทีโอเอ ซูเปอร์ชิลด์
รางวัล
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละคร สมการวัย ปี 2532
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละคร ตะวันชิงพลบ ปี 2534
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น จากละคร เจ้าสัวน้อย ปี 2543
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น จากรายการ พลิกล็อกเพชร ปี 2530
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ดาราสนับสนุนชายดีเด่น จากละคร ตะวันชิงพลบ ปี 2534
- รางวัล ASIAN TELEVISION AWARDS 2009 -Highly Commended พิธีกรยอดเยี่ยมประเภทบุคคล จากรายการ ยกสยาม
- รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 สาขารางวัลผู้ดำเนินรายการชายดีเด่นเมขลามหานิยม จากรายการ SME ตีแตก ทางช่อง 5
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น