วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

陳港生 (เฉิน ก่างเซิง)

 

 

เฉินหลง
Jackie Chan Cannes.jpg
ชื่อเกิด 陳港生 (เฉิน ก่างเซิง)
เกิด 7 เมษายน ค.ศ. 1954 (58 ปี) ฮ่องกง
คู่สมรส 林鳳嬌 (หลิน ฟ่งเจียว)
ชื่ออื่น 房仕龍 (ฝาง ซื่อหลง)
元樓 (หยวนโหลว)
อาชีพ นักแสดง, ผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้ประสานงานฉากการต่อสู้, นักร้อง
ผลงานเด่น หวงเฟยหง ใน ไอ้หนุ่มหมัดเมา กูกู๋ ใน วิ่งสู้ฟัด สารวัตรลี ใน คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด ชอน เวนย์ ใน คู่ใหญ่ฟัดข้ามโลก

 

 

ประวัติ

ชีวิตช่วงแรก


เฉินหลงถ่ายกับพ่อตอนเด็ก
เฉินหลงเกิดวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2497 ที่วิกตอเรียพีค (อังกฤษ:Victoria Peak ; จีน : 太平山 หรือ 扯旗山) ในฮ่องกง มีชื่อจริงว่า เฉิน ก่างเซิง (陳港生) หรือหมายความว่า "เกิดที่ฮ่องกง" พ่อของเฉินหลงชื่อ เฉิน จื้อผิง (陳志平) แม่ชื่อ เฉิน ลี่ลี่ (陳莉莉) เดิมอยู่เมืองจีน แต่หนีออกมาอยู่ฮ่องกงสมัยสงครามกลางเมือง ตอนเด็กๆ พ่อแม่ตั้งชื่อเล่นให้อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า "เพ่าเพ่า" หรือ "ลูกระเบิด" เพราะชอบนอนกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนเบาะ เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เขาเกือบถูกพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้าขายให้กับหมออังกฤษในราคาแค่ 26 เหรียญ แต่แล้วพ่อแม่ของเขาก็ได้ล้มเลิกความคิดนั้น
พ่อของเขาทำงานเป็น "พ่อครัว" แม่ทำงานเป็น "แม่บ้าน" ให้กับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในฮ่องกง เฉินหลงก็เติบโตมาในสถานทูต เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนหนานหัว
เมื่อเฉินหลงอายุได้ 7 ขวบ พ่อก็ส่งเขาเข้าโรงเรียนอุปรากรจีน โดยที่ตัวของพ่อกับแม่นั้นต้องไปทำงานเป็นพ่อครัวกับแม่บ้านที่สถานทูตในออสเตรเลีย และที่โรงเรียนนั้นเองที่ทำให้เฉินหลงได้เรียนรู้ชีวิตที่โดดเดี่ยว เพราะเขาต้องห่างครอบครัวเป็นเวลานาน แต่ที่นั่นก็ทำให้เฉินหลงได้พบเพื่อนร่วมสาบานอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว
เมื่อครั้งเฉินหลงอายุ 9 ขวบ ได้มีโอกาสมาใช้ชีวิตอยู่ในเยาวราชถึง 2 ปี อาศัยอยู่หลังโรงงิ้วเก่า ในวัยเด็กได้เรียนมวยไทยกับคุณลุงแก่ๆขาเป๋ คอยสอนมวยไทยให้ ดังนั้นเฉินหลงจึงมีความผูกผันกับคนไทยมาก [1]
เฉินหลงเรียนจบเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปสมัครเข้าร่วมทีมสตันท์ในวงการหนังฮ่องกงในช่วงที่ บรู๊ซ ลี ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อ บรู๊ซ ลี เสียชีวิต เฉินหลงต้องตกงานเพราะวงการหนังกังฟูฮ่องกง กำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ

จุดตกต่ำ

ความสามารถเฉินหลงเกิดไปสะดุดตาผู้สร้างหนังอย่าง หลอเหว่ย ผู้กำกับหนัง Fist of Fury (ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง) ของบรู๊ซ ลี โดยเขาต้องการปั้นดารากังฟูขึ้นมาแทนบรู๊ซ ลี โดยเฉินหลงได้แสดงหนังในตอนนั้นทั้งหมด 10 เรื่อง ได้แก่ New Fist of Fury (มังกรหนุ่มคะนองเลือด) (1976) Shaolin Wooden Men (ถล่ม 20 มนุษย์ไม้) (1976) Eagle Shadow Fist (1977) Half a Loaf of Kung Fu (ไอ้หนุ่มหมัดคัน) (1977) Killer Meteors (ไอ้ดาวหางจอมเพชรฆาต) (1977) To Kill with Intrigue (นางพญาหลั่งเลือดสะท้านภพ) (1977) Snake and Crane Arts of Shaolin (ไอ้หนุ่มหมัดทะเล้น) (1978) Magnificent Bodyguards (ศึกมันทะลุฟ้า) (1978) Spiritual Kung Fu (ไอ้หนุ่มพันมือ ตอน 2) (1978) และ Dragon Fist (เฉินหลง สู้ตาย) (1978) โดยทั้งหมดนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่เรื่องเดียว

จุดประสบความสำเร็จ


Drunken Master (1978)
ปี 1978 เมื่อเฉินหลงนำแสดงหนังให้กับ Seasonal Film เรื่อง Snake in the Eagle's Shadow (ไอ้หนุ่มพันมือ) (1978) ทำให้ชื่อของเฉินหลง กลายเป็นดาราดังเพียงช่วงข้ามคืน เพราะสามารถทำเงินอย่างมหาศาลในฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็ได้นำแสดงใน Drunken Master (ไอ้หนุ่มหมัดเมา) (1978) โดยเฉพาะเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จทั่วเอเชียอีกด้วย
และเมื่อเฉินหลงหมดสัญญากับหลอเหว่ย เขาก็มุ่งหน้าไปที่สังกัดโกลเด้นท์ ฮาร์เวส (Golden Harvest) ซึ่งในอดีตบรู๊ซ ลี เคยเป็นดาราประจำของค่ายนี้ โดยที่สิทธิการทำหนังในค่ายนี้ เฉินหลงเป็นคนสามารถเลือกเองได้ ผลงานเรื่องแรกในค่ายนี้คือเรื่อง The Young Master (ไอ้มังกรหมัดสิงโต) (1980) ซึ่งสามารถทำรายได้ 10 ล้านเหรียญฮ่องกงเป็นเรื่องแรก จากนั้น หลังจากนั้นเฉินหลงก็ได้กลับมาทำหนังในฮ่องกงกับร่วมกับ 2 สหายอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว โดยผลงานที่ทั้งสามได้แสดงด้วยกันมี 6 เรื่อง คือ Winners and Sinners (มือปราบจมูกหิน) (1983) Project A (เอไกหว่า) (1984) Wheels on Meals (ขาตั้งสู้) (1984) My Lucky Stars (7เพชรฆาตสัญชาติฮ้อ) (1985) Twinkle Twinkle Lucky Stars (ขอน่า อย่าซ่าส์) (1986) และ Dragons Forever (มังกรหนวดทอง) (1988) เป็นเรื่องสุดท้าย (แต่เรื่อง Heart of Dragon (2พี่น้องตระกูลบึ้ก) (1985) เฉินหลงกับหงจินเป่าแสดง แต่หยวนเปียวอยู่ในส่วนกำกับคิวบู๊ )
แต่เฉินหลงกลับมาประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกครั้ง ในหนังตำรวจร่วมสมัยอย่าง Police Story (วิ่งสู้ฟัด) (1985) โดยเรื่องนี้ทำให้เฉินหลงได้รับรางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ถึง 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม จากนั้นเฉินหลงก็แสดงหนังในฮ่องกงหลายเรื่องตลอดมาเรื่อยๆ เช่น Armour of God (ใหญ่สั่งมาเกิด) (1987) Police Story 2 (วิ่งสู้ฟัด2) (1988) Miracles (ฉีจี้) (1989)
จนโชคเพิ่งมาเข้าข้างเฉินหลงในช่วงยุค'90 หนังหลายเรื่องของเฉินหลงเป็นที่ยอมรับในทั่วเอเชียเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Armour of God II: Operation Condor (ใหญ่สั่งมาเกิด 2 : อินทรีทะเลทราย) (1991) Police Story 3: Supercop (วิ่งสู้ฟัด3) (1992) City Hunter (ใหญ่ไม่ใหญ่ ข้าก็ใหญ่) (1993) Crime Story (วิ่งสู้ฟัด ภาคพิเศษ) (1993) และตำนานไอ้หนุ่มหมัดเมาอย่าง Drunken Master II (ไอ้หนุ่มหมัดเมา2) (1994) ซึ่งเรื่องนี้เฉินหลงได้ร่วมงานกับ หลิวเจียงเหลียง อีกทั้งยังทำรายได้ไปถึง 40 ล้านเหรียญฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็มีหนังท็อปฟอร์มหลายเรื่องในเวลาต่อมา เช่น Thunderbolt (1995) (เร็วฟ้าผ่า) Police Story 4: First Strike (ใหญ่ฟัดโลก2) (1996) Mr. Nice Guy (ใหญ่ทับใหญ่) (1997) และ Who Am I? (ใหญ่เต็มฟัด) (1998)

ฮอลลีวูด


Rush Hour (1998)
เฉินหลงก็มีโอกาสไปแสดงหนังฮอลลีวู้ดเป็นครั้งแรกในหนังพีเรียด - กังฟู เรื่อง The Big Brawl (ไอ้มังกรถล่มปฐพี) (1980) (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Battle Creek Brawl) ผลลัพธ์ที่ได้คือ ไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นเขาก็แสดงเป็นตัวประกอบในหนังแนว Road Movie อย่าง Cannonball Run (เหาะแล้วซิ่ง) (1981) และ Cannonball Run 2 (1982) เรียกได้ว่าการไปเล่นหนังฮอลลีวู้ดของเขานั้น ล้มเหลวไม่เป็นท่า และเรื่องที่ 4 อย่าง The Protector (กูกู๋ปืนเค็ม) (1985) ซึ่งก็ล้มเหลวอีกครั้ง
และการไปเปิดตลาดอเมริกาครั้งที่สอง ของเฉินหลงก็เป็นผล เมื่อ Rumble in the Bronx (ใหญ่ฟัดโลก) (1995) สามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิสของอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 สามารถทำรายได้ตลอดการฉายถึง 32.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และการแสดงหนังฮอลลีวู้ดของเฉินหลงในรอบหลายปีก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเฉินหลงนำแสดงใน Rush Hour (คู่ใหญ่ ฟัดเต็มสปีด) (1998) ที่นำแสดงคู่กับ คริส ทักเกอร์ หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยสามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสถึง 141.1 ล้านเหรียญ และ 244.3 จากทั่วโลก จากนั้นเฉินหลงก็มีโอกาสเล่นหนังทั้งในฮ่องกงและอเมริกาสลับกันหลายๆครั้ง เช่น Gorgeous (เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่) (1999) Shanghai Noon (คู่ใหญ่ฟัดข้ามโลก) (2000) The Accidental Spy (วิ่งระเบิดฟัด) (2001) และเฉินหลงก็กลับมาเล่นหนังภาคต่ออย่าง Rush Hour 2 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 2) (2001) The Tuxedo (สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก) (2002) และ Shanghai Knights (คู่ใหญ่ฟัดทลายโลก) (2003) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเคย
แต่ผลงานอย่าง Around The World in 80 Days (80วัน จารกรรมฟัดข้ามโลก) (2004) ที่เฉินหลงร่วมแสดงกับ สตีฟ คูแกน และ ซีซิล เดอ ฟรานซ์ ประสบความล้มเหลวในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยทำเงินทั่วโลกไปเพียงแค่ 72.1 ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หลังจากนั้นอีก 3 ปี เฉินหลงก็กลับมาร่วมงานกับ แบร็ท แร็ตเนอร์ และ คริส ทักเกอร์ อีกครั้ง ใน Rush Hour 3 (คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด 3) (2007) โดยทิ้งห่างจากภาคที่แล้วถึง 6 ปี และก็ยังทำเงินในอเมริกาถึง 140.1 และ 255.0 จากทั่วโลก
ปี 2008 เฉินหลงนำแสดงร่วมกับ เจท ลี ในภาพยนตร์กำลังภายใน - แฟนตาซี เรื่อง The Forbidden Kingdom (หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่) (2008) โดยเป็นการร่วมกันครั้งแรกของทั้งคู่ และในปีเดียวกันเฉินหลงยังให้เสียงตัวการ์ตูน "Master Monkey" ในเรื่อง Kung Fu Panda (2008) ของ ดรีมเวิร์กส์ แอนนิเมชั่น โดยมีผู้ร่วมให้เสียง เช่น แจ็ค แบล็ค, ดัสติน ฮอฟแมน, แองเจลิน่า โจลี่ และ ลูซี่ ลิว
เฉินหลงนำแสดงในหนังแอ็คชั่น - คอมเมดี้ เรื่อง The Spy Next Door (วิ่งขโยงฟัด) (2010) โดยรับบทเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ต้องมาต่อสู้กับเหล่าสายลับมากฝีมือ หลังจากที่เหล่าเด็กๆดูแลดันเกิดโหลดข้อมูลลับขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดฉายต้นปี 2010 และ Kung Fu Kid งานรีเมคจากอดีตหนังดังอย่าง The Karate Kid (1984) แสดงร่วมกับ จาเดน สมิธ ลูกชายของนักแสดงชื่อดัง วิล สมิธ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ๊อกซ์ออฟฟิศ และทำไปกว่า 170 ล้านเหรียญในสหรัฐ และกำลังออกฉายตามทั่วโลก

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น